Loading...

ศูนย์ข้อมูลการส่งเสริมคุณธรรม

หลักสูตรอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของหน่วยงานต่างๆ

แสดง 21 ถึง 40 จาก 96 ผลลัพธ์
#หลักสูตรกระบวนการและแก่นเนื้อหาหลักสูตรกลุ่มเป้าหมายหน่วยงานดำเนินการ
21หลักสูตร 'โตไปไม่โกงสร้างคุณค่าและปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนตั้งแต่วัยเยาว์โดยการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนกทม.เพื่อปลูกจิตใต้สำนึกด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จึงได้เกิดโครงการ “โตไปไม่โกง” เพื่อบรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนของกรุงเทพมหานคร“ จุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดจริยธรรมขึ้นในจิตใจ ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้และเกิดความกล้าหาญทางจริยธรรมต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง โดยให้นึกถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ทั้งนี้โรงเรียนจะเป็นสถาบันหลักทางสังคมที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการหล่อหลอมให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี เชื่อมั่นในความสุจริต และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน นักเรียนในสังกัดโรงเรียนกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
22พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนท้องถิ่นด้านการจัดการสุขภาวะชุมชน ให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้เป็นผู้ที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นแบบอย่างกับสมาชิกในองค์กรได้โดยเฉพาะ ด้านคุณธรรม อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความรับผิดชอบ ความเสียสละเพื่อส่วนรวม และทักษะการสร้างความสามัคคีในองค์กรและเครือข่าย ตลอดจนการยึดมั่นในผลประโยชน์ส่วนรวมไม่หาประโยชน์ใส่ตัว ยึดมั่นทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรม ผู้นำชุมชนท้องถิ่นด้าน การจัดการสุขภาวะชุมชน ทั่วประเทศ อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู อาจารย์ แกนนำเด็กและเยาวชน เป็นต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
23การพัฒนาสังคมสุขภาวะ (Social Well-Being Development) งานสร้างเสริมสุขภาพเป็นทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ จึงต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนให้ปัจเจกบุคคลและชุมชนมีความสามารถและศักยภาพในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ต้องมุ่งเน้นการเสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว และชุมชนจัดการสุขภาพของตนเอง รวมถึงการพัฒนานโยบายสาธารณะและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะเป็นสำคัญ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คือ กลไกหนึ่งของการดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะทางกาย จิต สังคม ปัญญา โดยพัฒนาทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่ม องค์กร ชุมชน ตลอดจนสังคมและผ่านการสนับสนุนองค์กรภาคีทุกภาคส่วนให้สามารถปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยด้านสุขภาวะของสังคมไทย 1.ผู้รับผิดชอบ/ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบแผนงาน/โครงการ 2.ผู้ที่กำลังทำงานสร้างเสริมสุขภาพและผู้สนใจ (อบรม รุ่นละ 50 คน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
24หลักสูตร คู่มือและแนวทาง การสร้างเครือข่ายภาครัฐต่อต้านการทุจริตหลักสูตรแนวทางการสร้างเครือข่ายภาครัฐต่อต้านการทุจริต มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงาน ภาครัฐตระหนักถึงความสําคัญของการป้องกันการทุจริต และสร้างความเข้มแข็งให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และติดตามการทุจริต โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาการทุจริต 2) ปลุกจิตสํานึกและสร้างค่านิยมในการต่อต้านการทุจริตแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 3) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเครือข่าย และ การบริหารเครือข่าย 4) สร้างความเข้มแข็งในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และติดตามการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐผ่าน “เครือข่ายภาครัฐต่อต้านการทุจริต” 5 เครือข่ายคือ 1. เครือข่ายภาคประชาชน 2. เครือข่ายภาครัฐ 3. เครือข่ายภาคธุรกิจ (ทั้งในและต่างประเทศ) 4. เครือข่ายภาคสื่อมวลชน 5. เครือข่ายภาคเยาวชน สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
25ลูกเสือช่อสะอาดประกอบด้วย 4 หลักสูตร 1. หลักสูตรลูกเสือสำรองช่อสะอาด (อบรม 2 วัน ไม่พักค้างคืน) วิธีการฝึกอบรม การบรรยาย การสาธิต บทบาทสมมติ /การแสดงละคร กลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเกมเงียบ กิจกรรมเดินสำรวจ กิจกรรมกลางแจ้ง/กิจกรรมตามฐานและการระดมสมอง 2. หลักสูตรลูกเสือสามัญช่อสะอาด (อบรม 3 วัน 2 คืน) วิธีการฝึกอบรม การบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม การระดมสมอง บทบาทสมมติ เกมฐานกิจกรรม กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การถาม-ตอบ กิจกรรมชุมนุมรอบกองไฟ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 3.หลักสูตรลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ช่อสะอาด (อบรม 3 วัน 2 คืน) วิธีการฝึกอบรม การบรรยาย การสาธิตและปฏิบัติการสอนแบบฐานเรียนรู้ เพลง/เกม Mind Mapping บทบาทสมมติ กิจกรรมกลุ่ม การระดมสมอง กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมชุมนุมรอบกองไฟ 4) หลักสูตรลูกเสือวิสามัญช่อสะอาด (อบรม 3 วัน 2 คืน) วิธีการฝึกอบรม การบรรยายงานกลุ่ม การระดมสมอง บทบาทสมมุติ เกมฐาน/กิจกรรม กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การถาม-ตอบ กิจกรรมชุมนุมรอบกองไฟ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ลูกเสือ 4 ประเภทได้แก่ 1. ลูกเสือสำรอง 2. ลูกเสือสามัญ 3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ 4. ลูกเสือวิสามัญ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) สำนักงานการลูกเสือยุวกาชาดและ กิจการเรียน (สกก.
26วิชาพิเศษลูกเสือ ช่อสะอาดหลักสูตรประกอบด้วย 1. หลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือสำรองช่อสะอาด จำนวน 4 วิชา ได้แก่ วิชาผู้มัธยัสถ์ วิชาผู้ซื่อสัตย์ สุจริต วิชาผู้สังเกตการณ์สังคม และวิชาผู้มีความกตัญญู 2.หลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือสามัญช่อสะอาดจำนวน 3 วิชา ได้แก่ วิชานักพัฒนาความซื่อสัตย์ สุจริต วิชานักสร้างเครือข่ายลูกเสือสามัญช่อสะอาดและวิชานักพัฒนาวินัยพลเมือง 3. หลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ช่อสะอาด จำนวน 4 วิชา ได้แก่ นักสร้างเครือข่ายลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ช่อสะอาด วิชานักต่อต้านทุจริตพิชิตโกง วิชานักส่งเสริมการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ และวิชานักวิเคราะห์ปัญหา การทุจริต 4. หลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญช่อสะอาด จำนวน 4 วิชา ได้แก่ วิชานักพัฒนาแนวคิดการต่อต้านการทุจริต วิชาผู้นำการสร้างเครือข่ายลูกเสือ ช่อสะอาด วิชานักเฝ้าระวังการขัดแห่งผลประโยชน์ และวิชานักวิเคราะห์ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย ลูกเสือ 4 ประเภทได้แก่ 1.ลูกเสือสำรอง 2.ลุกเสือสามัญ 3.ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ 4.ลูกเสือวิสามัญ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) สำนักงานการลูกเสือยุวกาชาดและ กิจการเรียน(สกก.)
27โครงการส่งเสริมความรู้ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในระดับอาชีวศึกษา หลักสูตรประกอบด้วย 1. การปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สร้างความตระหนักให้ประชาชนมีส่วนร่วมการต่อต้านการทุจริต และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2. การปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสาธารณะ มีความรัก สามัคคี ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหนังสือประกอบการฝึกอบรม ดังนี้ หนังสือ “สาระการเรียนรู้เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหลักสูตร ปวช. 2560 หมวดวิชาทักษะชีวิต กลุ่มวิชาสังคมศึกษา และ ปวส. 2557 หมวดวิชาทักษะชีวิต กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์” หนังสือ “คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา” หนังสือ “แนวทางการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อสร้างความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตสำหรับนักเรียน นักศึกษา นักเรียน นักศึกษา 1.หลักสูตร ประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) หมวดวิชาทักษะชีวิต กลุ่มวิชาสังคมศึกษา 2.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หมวดวิชาสังคมศาสตร์ และหมวดวิชาชีพทุกสาขาวิชา ในสถานศึกษา ระดับอาชีวศึกษาทุกสังกัด ทั่วประเทศ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ
28หลักสูตรฝึกอบรม อสม. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในระดับชุมชนเสริมสร้างความรู้เรื่อง “ความรู้ ความเข้าใจด้านการมีส่วนร่วมของ อสม. และประชาชน ตลอดจนการเสริมสร้างเครือข่ายด้านการป้องกันและปราบการทุจริตในระดับชุมชน ประกอบด้วย 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทุจริตและป้องกันปราบปรามการทุจริต 2. การสร้างเสริมความตระหนักเกี่ยวกับค่านิยมสุจริต และการต่อต้านการทุจริตในสังคมไทย ๓. การมีส่วนร่วมของ อสม.และประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในชุมชน 4. การประชุมกลุ่มเรื่อง “แผนปฏิบัติการและแนวทางการสร้างเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในชุมชน” 5. การประเมินผล และมอบหมายภารกิจ อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกตำบล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
29การสัมมนาเครือข่ายเอกลักษณ์ของชาติการเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับเรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์เอกลักษณ์ของชาติ วิถีวัฒนธรรม มารยาทไทย หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนที่เคยได้รับรางวัล ประชาธิปไตยตัวอย่างสำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี (สป.นร.)
30โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและ การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ 1. การจัดกิจกรรมศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้แก่บุคลากรในสังกัด บุคลากรในสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักเลขาธิการ-คณะรัฐมนตรี (สลค.)
31การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่บุคลากรการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปลุกจิตสำนึกการต่อต้านและป้องกันการทุจริตให้แก่บุคลากร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักข่าวกรอง-แห่งชาติ (สขช.)
32เสริมสร้างเกียรติภูมิข้าราชการ: สำนึกข้าราชการไทย ไม่โกง เสริมสร้างจิตสำนึกของข้าราชการที่จะเข้าสู่ตำแหน่งบริหารระดับกลาง ให้มีความมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่วนรวม ปฏิบัติตนปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ร่วมงาน และสามารถมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างมีประสิทธิภาพ (ระยะเวลาอบรม ๒ วัน) ผู้ที่จะก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหารประเภทอำนวยการสำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
33ผู้นำทีม ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Team Leader) การพัฒนาผู้นำทีมเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับนโยบายมาสู่การปฏิบัติแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการเตรียมความพร้อมเพื่อความก้าวหน้าของข้าราชการผู้มีศักยภาพ ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติและบริหารราชการแผ่นดิน ข้าราชการผู้ปฎิบัติงาน ในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ที่มีบทบาทในการ เป็นผู้นำทีมหรือมีศักยภาพ ในการเป็นผู้นำ สำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
34การอบรม สัมมนาพัฒนาศักยภาพ การทำงานของบุคลากรการอบรมหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงาน เน้นการสอดแทรกหลักสูตรคุณธรรม จริยธรรม หลักธรรมาภิบาล และการดำรงตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรในสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักงบประมาณ (สงป.)
35การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่บุคลากรการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่บุคลากร โดยจัดกิจกรรมการเข้าวัดปฏิบัติธรรม การจัดให้มีการบรรยายธรรมให้ความรู้ แนวคิดในการพัฒนาตนเองตามหลักศาสนา เพื่อประโยชน์ของบุคลากรในการปฏิบัติงานและ การดำรงชีวิตประจำวัน บุคลากรในสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักงบประมาณ (สงป.)
36การเสริมสร้างพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากร การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่บุคลากร โดยผสมผสานสามศาสตร์วิชา คือ วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ และศาสนศาสตร์ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้อย่างเหมาะสม บุคลากรในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
37โครงการเสริมสร้างจริยธรรมป้องกัน และต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ ในองค์กร 1. ความรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม สาเหตุและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการมีความขัดแย้งกัน ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม การป้องกันและต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน การปลุกจิตสำนึก และ สร้างค่านิยมการเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งดีและเก่ง เพื่อประโยชน์ของประชาชน 2. ความรู้เกี่ยวกับระบบการพิทักษ์คุณธรรมประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน สิทธิ ขั้นตอน และกระบวนการในการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 การปลูกฝังค่านิยมคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกแห่งความสุจริต เที่ยงธรรมในหน้าที่ของข้าราชการ ควรแก่ความเชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชน ข้าราชการและบุคลากรในสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
38การเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาท เพื่อพัฒนาศักยภาพ ในการทำงาน การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้กับพนักงาน เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงาน พนักงาน สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
39โครงการฟังธรรม สร้างสุขการอบรมศีลธรรม เสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่บุคลากรโดยจัดบรรยายธรรม เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนดี ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านรูปแบบการนำเสนอที่สนุก ได้สาระ เข้าใจง่าย ข้าราชการ -เจ้าหน้าที่ในสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงเกษตร และสหกรณ์
40การเสริมสร้างคุณธรรม ในหน่วยงาน การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่บุคลากร เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทและศาสตร์พระราชา ดำรงตนด้วยวิถีที่ดีงามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาทักษะชีวิตและการทำงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม