Loading...

ศูนย์ข้อมูลการส่งเสริมคุณธรรม

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและวีถีวัฒนธรรมไทย

แสดง 141 ถึง 146 จาก 146 ผลลัพธ์
#ชื่อแหล่งเรียนรู้สถานที่ตั้ง/ผู้ประสานงานลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการหน่วยงานสนับสนุน
141ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านเตย ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านเตย เลขที่ 65 หมู่ที่ 1 ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110 ผู้ประสานงาน นางสาวกุศล ทองวัน โทร. 02 – 5647000 ต่อ 1442 โทร. 089 – 7998141 1. ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ การแปรรูปข้าวอินทรีย์ การแปรรูปสีข้าวบรรจุถุงส่งขาย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตน้ำส้มควันไม้ การทำบัญชีครัวเรือน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีมาตรฐานเพื่อขยายตลาด เป็นต้น 2. ในอดีต ชุมชนบ้านเตยประสบปัญหาหนี้สินเป็นจำนวนมาก เมื่อคนในชุมชน ได้หันมาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไข โดยเริ่มต้นจากการทำบัญชีครัวเรือน ในปี พ.ศ.2551 จึงพบว่า หนี้สินส่วนใหญ่มาจากการใช้ปุ๋ยเคมีสูงถึง ปีละ 4 ล้านบาท ดังนั้น คนในชุมชนจึงหาแนวทางแก้ปัญหา โดยเริ่มจากการร่วมกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี และพัฒนาต่อยอดจนสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีสูตรเฉพาะที่จดสิทธิบัตรแล้วออกจำหน่าย ตามมาด้วยการผลิตข้าวอินทรีย์จำหน่ายภายใต้แบรนด์ “บ้านเตย”ที่เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
142สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ 3/4-5 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ผู้ประสานงาน นางสาวณัฐฐานิต พงศ์จีรกำจร โทร. 02 - 5775100 ต่อ 4220 เป็นแหล่งเรียนรู้ ในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชาติให้สอดคล้องกับระบบมาตรวิทยาสากล การถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่ผู้ใช้งานและส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพด้านมาตรวิทยา และความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมถึง การสร้างความตระหนักให้สังคม มีความเข้าใจในด้านมาตรวิทยา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
143ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง114/1 หมู่ 1 ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 20170 ผู้ประสานงาน นางสาวจุฑามาศ โพธิศรี โทร. 02 - 2809000 ต่อ 1942 1. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ก่อตั้งโดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สู่การปฏิบัติ โดยมีแนวคิดในการที่จะฟื้นฟูประเทศ โดยการนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ให้ใช้กับการทำเกษตร และการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการรณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี หยุดการพึ่งพาชาติตะวันตกและหันกลับมาพึ่งพาตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เคยสืบทอดกันมา เพื่อเน้นการทำเกษตรที่ยังยืนบนผืนแผ่นดินไทย 2. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง มีฐานการเรียนรู้ ให้ผู้สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ ดังนี้ 1)ฐานคนรักษ์ป่า เป็นการเรียนรู้ตามแนวทางป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อสร้างโลกสีเขียว การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างคนกับธรรมชาติ ไม่เอาเปรียบทั้งตนเองและธรรมชาติ 2)ฐานคนติดดิน การเรียนรู้การนำวัสดุในท้องถิ่นมาสร้างเป็นที่พัก อาศัย คือ บ้านดิน เป็นการสร้างบ้านบนวิถีตนเอง ลดการซื้อหาปัจจัยจากภายนอกชุมชน ทำให้มนุษย์และสรรพสัตว์สิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและลงตัว 3) ฐานคนรักษ์แม่โพสพ เป็นการเรียนรู้ การตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่า ของข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย โดยเกษตรกรไทยเป็นผู้ผลิตข้าวเลี้ยงประเทศมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าประชากรของชาติจะทวีขึ้นเพียงใด เกษตรกรก็สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอเสมอ และยังสามารถส่งออกไปเลี้ยงพลเมืองโลกได้อีกเป็นจำนวนมาก ข้าวจึงเป็นอาหารที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ มาอย่างยาวนาน 4) ฐานคนรักษ์น้ำ เป็นการเรียนรู้ การตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ การใช้การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่าและให้เกิดประโยชน์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) ฐานคนมีน้ำยา เป็นการเรียนรู้ การผลิตของใช้ในครัวเรือนด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น น้ำยาอเนกประสงค์ น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้า สบู่สมุนไพร เป็นต้น 6) ฐานคนรักษ์สุขภาพ เป็นการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพด้วยวิธีธรรมชาติโดยใช้ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ การล้างพิษ(ดีท๊อกซ์) การทำสปา แบบง่ายจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นต้น 7) ฐานคนรักษ์แม่ธรณี เป็นการเรียนรู้ การฟื้นฟู การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพลงในดิน เพื่อให้ดินมีคุณภาพ สามารถปลูกพืช เจริญเติบโตแข็งแรงให้ผลผลิตดี 8)ฐานคนมีไฟ เป็นการเรียนรู้การใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งใช้วัตถุดิบจากการเกษตรภายในประเทศ เช่น ปาล์มน้ำมัน ไขมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่ายขนาดเล็ก รวมถึงน้ำมันที่ใช้แล้วจากการปรุงอาหารไขมันจากสัตว์ เป็นต้น การผลิตและใช้ประโยชน์จากไบโอดีเซล สามารถช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศได้ ส่งผลให้ประเทศมีความมั่นคงด้านพลังงานมากขึ้น รวมทั้งช่วยลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการสันดาปของเครื่องยนต์ได้ 9) ฐานคนเอาถ่าน เป็นการเรียนรู้การเผาถ่านเพื่อใช้เองในครัวเรือน ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย การผลิตน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากกระบวนการเผาถ่าน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านกสิกรรมธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ สำนักนายกรัฐมนตรีโดย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
144กลุ่มประติมากรรมดินเผาบ้านป่าตาล ๙/๑ หมู่ ๔ ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๓๐ ผู้ประสานงาน นายธนพล สายธรรม โทร. ๐๘๖ – ๔๒๑๐๘๙๐ [email protected] ชาวชุมชนบ้านป่าตาลมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับการสืบทอดมานานกว่า ๑๐๐ ปี โดยในอดีตบรรพบุรุษของชาวหมู่บ้านป่าตาลมีอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อมีเวลาว่างชาวหมู่บ้านจะไปขุดดินเหนียวจากหัวไร่ปลายนาขึ้นมาปั้นเป็นเครื่องปั้นดินเผาในรูปของ อิฐมอญ คนโท แจกัน และกระปุกออมสิน แต่ยังไม่ได้ปั้นเป็นตุ๊กตาดินเผาดินยิ้มอย่างเช่นในปัจจุบัน ภายหลังชาวป่าตาลได้ตั้งกลุ่มภายใต้ชื่อ กลุ่มประติมากรรมดินเผา บ้านป่าตาล โดยดึงเอาจุดเด่นของงานปั้นจากบ้านป่าตาลที่เรียกความสุขจาก ผู้พบเห็น คือใส่รอยยิ้มลงไปในตุ๊กตา “ผลิตภัณฑ์ ตุ๊กตาดินยิ้ม” ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ชาวป่าตาลได้นำแนวคิดการปั้นตุ๊กตาที่มีรอยยิ้ม ไปผสมผสานกับรูปแบบการปั้นแบบเดิมที่เคยทำมา และสร้างสรรค์งานปั้นดินเผาในแบบที่ตนถนัด ทำให้เกิดงานปั้นในรูปแบบใหม่ ที่แตกต่างหลากหลายขึ้นภายในหมู่บ้านตามความชอบของผู้สร้างสรรค์ชิ้นงาน เช่น ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ประติมากรรมจักสานและตุ๊กตาดินเผารูปเด็กไทยและรูปสัตว์นานาชนิด เป็นต้น กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
145กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพญาขัน ๕๘ บ้านทุ่งมะขาม ตำบลพญาขัน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ๙๓๐๐๐ ผู้ประสานงาน 1) นายสกล กาฬสุวรรณ โทร. ๐๙๒ - ๙๘๙๙๙๕๒ 2) นางพรรณี สงแสง โทร. ๐๘๙- ๒๙๓๔๑๒๙ กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพญาขัน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้การศึกษา ในเรื่องของการจัดทำและการบริหารงานกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ คนในชุมชนมีการเรียนรู้ การพัฒนา การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีรูปแบบที่น่าสนใจ คือ การเป็นทีมที่มีจิตอาสาในการพัฒนา เพื่อมุ่งไปสู่ การเป็นตำบลที่เข้มแข็ง หรือเป็นตำบลที่เป็นรูปธรรมในเรื่องของกองทุนสวัสดิการชุมชน เปรียบเหมือนเป็น “กองบุญ” ของคนในตำบลได้พึ่งพิง กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพญาขัน จัดตั้งขึ้นโดยชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๔ ตำบลพญาขัน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จำนวน ๑๓๙ คน เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๔๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันเกี่ยวกับการจัดการศพ ดำเนินงานภายใต้หลักการพึ่งตนเองและการมีส่วนร่วม สมาชิกทุกคนต้องจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนตามหลักการให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรีปีละ ๓๖๕ บาท ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน ๑,๒๑๙ คน มีการดำเนินงานจัดสวัสดิการอย่างหลากหลายครอบคลุมตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บ ตาย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับแนวคิดจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนของศาสตราจารย์ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ โดยมีเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง คือ ทุกวัยมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือกันและกัน โดยไม่ยึดเงินทองเป็นเป้าหมายหลัก แต่ยึดคุณธรรมร่วม คือ น้ำใจไมตรี รู้รักสามัคคี กลมเกลียว “คนตำบลพญาขันไม่ทอดทิ้งกัน” กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
146ชุมชนกองขยะ หนองแขม ๖๑ หมู่ที่ ๒ หมู่บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๓๑๐ ผู้ประสานงาน 1) พระสมุห์เอกนรินทร์ นรินฺโท วัดจำปา บ้านหัวนา โทร. ๐๘๗ - ๙๘๖๕๙๙๐ 2) นายสมพงษ์ บุญบำเรอ โทร. ๐๘๗ - ๙๘๖๕๙๙๐   ชุมชนกองขยะหนองแขมเป็นชุมชนแออัดที่ตั้งอยู่บนถนนพุทธมณฑลสายสาม หรือ ถนนเพชรเกษม ซอย ๑๐๔ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๓ ไร่ โดยเช่าที่ดินจากมูลนิธิเกษตราธิการและที่ดินของเอกชน ได้ดำเนินโครงการบ้านมั่นคงของชุมชนกองขยะหนองแขม ซึ่งถือเป็นกรณีตัวอย่างการบริหารงานที่สนับสนุนให้คนยากจนเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้มากที่สุด สามารถสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยรวมทั้งหมด ๑๔๕ หลัง และยังมีอาคารอเนกประสงค์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพรีไซเคิล อาคารสำนักงานสหกรณ์ รวมทั้งพื้นที่ส่วนกลาง สวนหย่อม สนามเด็กเล่น สถานที่ออกกำลังกาย ถนน รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้าและน้ำประปา นอกเหนือจากนี้ ชุมชนได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทุกครอบครัวมีช่องทางการประกอบอาชีพมีรายได้ที่มั่นคง รู้จักการออมเงิน เยาวชนได้รับการศึกษา และมีระบบสวัสดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ และชุมชนกองขยะหนองแขมยังเป็นพื้นที่ต้นแบบให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นพื้นที่เรียนรู้ดูงานด้านการจัดการที่อยู่อาศัยอีกด้วย โดยมีหลักคุณธรรมร่วมที่สำคัญ คือ ความซื่อตรง จิตอาสา และการเอื้ออาทรกันและกันของคนในชุมชน กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)