Loading...

ศูนย์ข้อมูลการส่งเสริมคุณธรรม

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและวีถีวัฒนธรรมไทย

แสดง 1 ถึง 20 จาก 146 ผลลัพธ์
#ชื่อแหล่งเรียนรู้สถานที่ตั้ง/ผู้ประสานงานลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการหน่วยงานสนับสนุน
1ชุมชนบ้านหัวนา๖๑ หมู่ที่ ๒ หมู่บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๓๑๐ ผู้ประสานงาน 1) พระสมุห์เอกนรินทร์ นรินฺโท วัดจำปา บ้านหัวนา โทร. ๐๘๗ - ๙๘๖๕๙๙๐ 2) นายสมพงษ์ บุญบำเรอ โทร. ๐๘๗ - ๙๘๖๕๙๙๐ เป็นชุมชนที่ขับเคลื่อนพลังจากบวร (บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ) เป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และเป็นหมู่บ้านตามรอยพ่ออย่างพอเพียง มีการบูรณาการกับการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างทุกต้องตามหลักจารีตและประเพณี และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีศูนย์ฝึกอาชีพของชุมชน มีแหล่งเรียนรู้ป่าชุมชน ยึดแนวทางมาเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมั่นคงบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ความซื่อตรง ความซื่อสัตย์ความมีวินัย ความมีเหตุผล ความพออยู่พอกิน และพอประมาณ ชุมชนมีธรรมนูญความสุขของหมู่บ้านเป็นระเบียบหลักการปฏิบัติที่เกิดจากความเห็นพ้องต้องกันของคนในหมู่บ้าน ตามเป้าหมายความสุขจังหวัด ศรีสะเกษ “๕ ดี เมืองศรี อยู่ดีมีแฮง” ประกอบด้วย สร้างวัฒนธรรมดี คนดี สวัสดิการดี สิ่งแวดล้อมดี และมีวิถีพอเพียง กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
2ชุมชนริมคลอง บางบัวชุมชนริมคลองบางบัว เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 ผู้ประสานงาน นายประภาส แสงประดับ ชุมชนริมคลองบางบัว ตั้งอยู่ริมคลองบางบัว เขตบางเขน (ตรงข้ามกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์) ชาวบ้านปลูกบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางบัวมานาน ๗๐-๘๐ ปี ถือเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน แต่นับแต่ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมา มีผู้คนอยู่อาศัยกันมากขึ้น บ้านเรือนจึงหนาแน่น และบางส่วนปลูกสร้างรุกล้ำลงไปในลำคลอง ทำให้กีดขวางทางเดินของน้ำ จึงมีกระแสข่าวมาตลอดว่าทางราชการจะทำการรื้อย้ายชุมชน ชุมชนจึงรวมตัวกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมจนทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยมีคณะกรรมการหรือแกนนำที่ยึดมั่น ในหลักคุณธรรม ความซื่อตรง และ จิตอาสาเพื่อส่วนรวม ที่เป็นแบบอย่างที่สังคมยอมรับ จุดเด่นของชุมชน ๑) ความมั่นคงของชุมชนและสังคม มีการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชน สร้างความปลอดภัยในชุมชนด้วยกิจกรรมตำรวจชุมชน การจัดสวัสดิการเพื่อการศึกษาของเด็กและเยาวชน เป็นต้น ๒) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการจ้างงานในชุมชน การดำเนินงานของกลุ่มในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มออมทรัพย์ฯ และกลุ่มสวัสดิการชุมชน มีกลุ่มกิจกรรมของผู้สูงอายุและแม่บ้านในการจัดทำน้ำยาเอนกประสงค์ จัดทำดอกไม้ประดิษฐ์ เพื่อส่งขายยังสถานประกอบการต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น ๓) การจัดการกายภาพและสิ่งแวดล้อมใน เกิดการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เช่น การลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและพาหนะนำโรค การมีพื้นที่ออกกำลังกายและนันทนาการ การลดความเสี่ยงด้านอัคคีภัย เป็นต้น กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
3ชุมชนตำบล หนองสาหร่ายตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 71140 ผู้ประสานงาน 1) นายศิวโรฒ จิตนิยม โทร. ๐๘๑ - ๗๖๓๗๓๔๑[email protected] 2) คุณธัญมน วัลลา โทร ๐๘๑ - ๙๔๒๔๒๔๘ โทร ๐๓๔ - ๖๘๒๐๓๑ ชุมชนหนองสาหร่ายเริ่มต้นกำหนดเป้าหมายและจัดทำตัวชี้วัดขึ้นมาจากประโยคที่ว่า “เป้าหมายความสุข อยู่ที่ความดี” กระบวนการฟื้นความสุขให้กลับมา ต้องสร้างความดี สะสมความดี สร้างตัวชี้วัดความดี ใช้ความดีเป็นเครื่องมือของการพัฒนา มีการจัดตั้งธนาคารชุมชนเป็นแหล่งรวบรวมเงิน จัดตั้งธนาคารต้นไม้ รวบรวมพันธุ์พืชไม้ จัดตั้งธนาคารข้าว เพื่อสำรองไว้บริโภค สำรองไว้ปลูก รองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ มีแผนดำเนินการจัดตั้งธนาคารเลือด ทำบัญชีกรุ๊ปเลือดของชาวบ้าน เพื่อช่วยเหลือคนหนองสาหร่ายเมื่อบาดเจ็บและเตรียมการจัดตั้งธนาคารสัตว์เลี้ยง เพื่อใช้เป็นพันธุ์สัตว์เลี้ยงของคนในตำบล จุ ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ครัวเรือนปลูกผักไว้กินเองไม่น้อยกว่า ๗ ชนิด สามารถลดรายจ่ายของตำบลได้ ปีละประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินกองทุนนำสู่วาระการปลดหนี้นอกระบบได้ ๑๙,๓๐๐,๐๐๐ บาท และได้รับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน : ผู้สร้างสรรค์ความมั่นคงของมนุษย์ ตามแนวคิดของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ด้านผลงานการจัดสวัสดิการชุมชนแบบองค์รวม หลากหลายมิติสามารถเชื่อมโยง บูรณาการทรัพยากรจากหลากหลายแหล่งเพื่อแก้ปัญหาของสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
4ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะทัง๑๒๓ หมู่ ๑๑ ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัด พัทลุง ๙๓๐๐๐ ผู้ประสานงาน นางเตือนใจ ชูอักษร โทร. ๐๘๙ ๖๕๘ ๑๕๐๕ [email protected] ศูนย์เรียนรู้ชุมชนสวนสร้างสุขบ้านเกาะทัง เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ตั้งอยู่ในสวนยางพาราเล็กๆ มีลักษณะเป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูง ฝากั้นด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ ใช้พื้นที่ใต้ถุนบ้านเป็นห้องสมุดที่มีหนังสือหลากหลายและเปิดโอกาสให้เด็กมาอ่านหนังสือและทำกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันเสริมสร้างนิสัยการอ่านให้กับเยาวชนตำบลนาโหนด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ เยาวชน ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความสนใจ และมีการเรียนรู้วิถีชีวิต วิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากปัญหายาเสพติด ติดเกม เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีคุณภาพบนพื้นฐานความคิดที่ว่า “เรียน กิน เล่น เป็นการสร้างสุข” โดยมีมุมมองเรื่องคุณธรรมว่า คุณธรรมแทรกอยู่ในทุกที่ ทุกเรื่องราวที่อยู่รอบตัวเรา อยู่ที่ว่าเราจะหยิบเรื่องอะไรมาเชื่อมโยงกับงานที่เราทำ เด็ก เยาวชนกำลังต้องการเห็นต้นแบบที่ดี องค์กรที่ดีที่มีคุณธรรมจึงเป็นองค์กรที่เปิดพื้นที่ทั้งทางกาย ทางใจ ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ได้ชื่อว่า เป็นศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงที่โดดเด่น โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการนุ่งซิ่น ไม่นุ่งสั้น ที่ขยายไปทั่วพัทลุงในเวลานี้ กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
5ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านดอยดิน หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ๗๐๐๐๐ ผู้ประสานงาน 1) นายสมชาย หลวงละ โทร. ๐๘๙ - ๕๐๘๕๗๗๐ 2) นายสยาม จิตรบวร โทร. ๐๙๕ - ๗๐๙ ๘๘๙๒ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านดอยดินจัดตั้งเพื่อรวบรวมข้อมูล วางแผน จัดประชุม ประสานงานหน่วยงาน ในการเจรจาแก้ปัญหาน้ำเสียกับภาคธุรกิจรายย่อยในชุมชน โดยมีกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา คือ ๑) แก้ไขปัญหาโดยยึดหลักไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และอยู่ร่วมกันได้ ๒) ทีมงานที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ๓) แกนนำแก้ไขปัญหาต้องไม่นำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ๔) ใช้ข้อมูลใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา พร้อมกับทำกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน เช่น ประชาธิปไตยชุมชนลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การรู้เท่าทันการโฆษณาเกินจริง โครงการให้ความรู้ลดการใช้สารเคมี การให้ความรู้เกี่ยวกับการทานอาหารอย่างไรจะปลอดภัย เป็นต้น ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ยึดมั่นในหลักคุณธรรม คือ การกตัญญูต่อสิ่งแวดล้อม การดำเนินวิถีชีวิตแบบพอเพียง และการสุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ในประเด็นการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
6สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองตัน ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 74120 ผู้ประสานงาน คุณเอื้อมพร บุญชู โทร ๐๘๕ - ๑๓๖๓๘๕๖สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองตัน มีกิจกรรมการพัฒนาที่โดดเด่น ได้แก่ เป็นพื้นที่สภาองค์กรชุมชนตำบลต้นแบบระดับจังหวัด เป็นตำบลกองทุนสวัสดิการต้นแบบระดับจังหวัด ยึดในหลักการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน บนหลักคุณธรรม คือ ความพอเพียง มีศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด มีการตั้งเป้าหมายความสุขชุมชน 5 ข้อ ดังนี้ คือ ๑)เป็นตำบลที่ปลอดหนี้ ๒) คนในตำบลมีสวัสดิการทั่วหน้าตั้งแต่เกิดถึงตาย ๓) สภาองค์กรชุมชนตำบลมีความเข้มแข็ง คนคลองตันมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ๔) คนคลองตันมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๕) เป็นตำบลที่ฟื้นฟู ดูแล รักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีและสวยงาม กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
7สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม ราชบุรี 70120 ผู้ประสานงาน นายวิฑูรย์ ศรีเกษม โทร ๐๘๗ – ๐๔๘๕๖๔๐ เป็นสภาฯ ต้นแบบระดับจังหวัด โดยมุ่งเน้นการทำงานกับคน มีพื้นฐานการพัฒนาที่ผ่านกระบวนการค้นหาความดี จากทุนวัฒนธรรมลาวเวียง สามารถนำทุนความดี มาต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้าน โดยยึดมั่นในหลักคุณธรรมร่วม คือ พอเพียง สามัคคี และมีวินัย มีการดำเนินงานโดยกำหนดเป้าหมายความสุข ดังนี้ คือ ๑) คนในตำบลมีสุขภาพ ๒) คนในตำบลมีความสามัคคี ๓) ตำบล ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ๔) ตำบลปลอดยาเสพติด ๕) องค์กรในชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีแผนจัดอบรมเยาวชน เพื่อสร้างเสริมคนรุ่นใหม่ เข้ามาทำงานกับสภาฯ มากขึ้น พร้อมกับการขยายเครือข่ายเป้าหมายความสุขให้มากกว่าเดิม โดยคาดหวังที่จะสร้างเครือข่ายตำบลที่จัดทำเรื่องนี้ อย่างน้อย ๓๐ สภาองค์กรชุมชนตำบล ในเขตจังหวัดราชบุรี กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
8โรงเรียนต้นบากราษฎร์บำรุง เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๗ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000 ผู้ประสานงาน ๑) นายสุรพล มุสิกพันธ์ โทร. ๐๘๙ - ๐๔๒๔๙๐๘ [email protected] ๒)นางลดาวัลย์ พรศิริวงศ์ โทร. ๐๙๗ - ๒๕๖๔๑๔๙ โรงเรียนได้บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสอดแทรกกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมสร้างคุณธรรมความดี มีการเชื่อมโยงกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อทบทวนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องระหว่างโรงเรียนและชุมชน ริเริ่มโครงการ “ร้อยรักดวงใจสายใยครอบครัวบุญ” เป็นการขยายผลการดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมความดีจากโรงเรียนสู่ชุมชน ยกระดับและพัฒนาโรงเรียนต้นบากราษฎร์บำรุงให้เป็นศูนย์เรียนรู้เด็กดีมีวินัย โดยมีโรงเรียนมิตรภาพ ๓๑ (ทุ่งหวัง) และเครือข่ายอื่นๆ เข้ามาเป็นลูกข่าย โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสถาบันวิชาการ ผู้ปกครอง และโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดตรัง ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมความดีต้นแบบร่วมกัน กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
9โรงเรียนบ้านตะโกล่าง๔๖๒ หมู่ ๘ บ้านตะโกล่าง ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ๗๐๑๘๐ ผู้ประสานงาน นายเฉลียว เถื่อนเภา โทร.๐๘๙ - ๐๑๔-๔๓๔๒ [email protected] โรงเรียนบ้านตะโกล่าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ เปิดการเรียนการสอนระดับอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนต้น ได้ดำเนินโครงการเยาวชนคนดีศรีตะโกล่างขึ้นเพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีออกสู่สังคม มีการดำเนินการปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีน้ำใจ จิตสาธารณะ รักความสะอาด และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยโครงงานคุณธรรม ผ่านกิจกรรมจิตอาสาพาสะอาด กิจกรรมธนาคารขยะ กิจกรรมสุขาน่าใช้ กิจกรรมสร้างรอยยิ้มให้กับชุมชนและกิจกรรมธนาคารความดีบนพื้นฐานคุณธรรม พบว่าพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโกล่าง มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักในคุณธรรม จริยธรรมในด้าน ความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ และจิตอาสา ในระดับดีเป็นที่น่าพึงพอใจ กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
10โรงเรียนพิจิตรอินเตอร์๔/๓๒๔ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ๖๖๐๐๐ ผู้ประสานงาน 1) นางวณิชชา ภัทรประสิทธิ์ โทร. ๐๘๑ - ๘๘๘๙๐๓๐ [email protected] 2) นางสาวสุดาพร อินทนน โทร ๐๘๘ - ๔๒๒ ๒๐๖๒เป็นโรงเรียนเอกชนตั้งอยู่ในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๔ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ได้รับรางวัลพระราชทานสถานศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการควบคู่ไปกับการเป็นคนดี มีคุณธรรม คือ สัมมาคารวะ วินัย และรับผิดชอบ เข้าสู่การเป็นโรงเรียนคุณธรรมควบคู่กับการเป็นโรงเรียนรักษาศีลห้า จากการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้ประกาศ “จังหวัดคุณธรรม” เป็นวาระจังหวัด เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ โดยมีประเด็นในการขับเคลื่อนคุณธรรมเป้าหมาย คือ “พิจิตรเมืองแห่งความสุข บนพื้นฐานแห่งคนดี” กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
11วิทยาลัยเทคนิค โพธาราม วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม ๕๖ ตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ๗๐๑๒๐ ผู้ประสานงาน นายชูศักดิ์ นายะสุนทรกุล โทร. ๐๓๒ - ๒๓๑๓๑๓ [email protected] วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม เป็นสถาบันการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นวิทยาลัยต้นแบบตามโครงการกองทุนการศึกษาในราชทรัพย์ส่วนพระองค์ (โครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงอยากให้เด็กที่มีความประพฤติดีแต่ฐานะยากจนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดตั้งขึ้น ในปี 2555) ทั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคโพธารามได้กำหนดอัตลักษณ์คุณธรรม ของสถาบัน ในหัวข้อ “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” และสรุปออกมาเป็น วินัย พอเพียง จิตอาสา มุ่งผลิตบุคลากรให้ตรงตามอัตลักษณ์ที่ได้ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิค ๓ ท. คือ ทิ่มหู ทิ่มตา ทิ่มใจ ตลอดจน หลัก ๕ อ่อน ได้แก่ ๑) มืออ่อน ๒) ปากอ่อน ๓) กายก่อน ๔) หัวอ่อน และ ๕) ใจอ่อน โดยครูผู้สอนสอดแทรกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา มีการดำเนินกิจกรรมโครงการธนาคารโรงเรียน โครงการขยะคุณธรรม โครงการแปลงเกษตรคุณธรรม โครงการห้องครัวคุณธรรม โครงการของหายได้คืน ผลจากการดำเนินโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการวิทยาลัยคุณธรรม ทำให้นักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นักเรียนประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยทั้งการ แต่งกาย การตรงต่อเวลา มีความสุภาพ นอบน้อม ไม่ยึดถือเอาสิ่งของที่มิใช่ ของตน และมีจิตอาสาที่จะทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมกระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
12เทศบาลตำบล หนองบัวหมู่ ๑ ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ๗๑๑๙๐ ผู้ประสานงาน 1) นางสาวสวนา ลีนะกุล โทร. ๐๘๑ – ๓๐๐๐๘๙๐ [email protected] 2) นายปัญญา สัตยกาญจน์ โทร. ๐๘๑ – ๙๔๒๖๙๔๘ เทศบาลตำบลหนองบัว เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย มีอิสระภายใต้การกำกับดูแลโดยรัฐ มีภารกิจหลักในการจัดบริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ เทศบาลตำบลหนองบัว มีนโยบายการบริหารงาน และการพัฒนาคนในองค์กร โดยใช้หลักธรรมาภิบาล คือ ความซื่อตรง สุจริต การทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์กร ยึดหลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม มีความรับผิดชอบและมีความประหยัดคุ้มค่าในการปฏิบัติงาน เป้าหมายขององค์กร คือ การจัดบริการสาธารณะให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีการพัฒนาคนทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้เกิดเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
13องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ๒๐๐/๒ หมู่ที่ ๓ หมู่บ้านป่าแงะ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๘๐ ผู้ประสานงาน 1) ดร.อุบล ยะไวทย์ณะวิชัย โทร ๐๘๑ – ๘๘๑ ๘๐๘๒ [email protected] 2) นางชญาณิศา กุลอ่อน โทร ๐๘๙- ๗๔๘ ๖๕๖๓ 1. อบต.ดอนแก้วมุ่งแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำในองค์กรด้วย โดยเฉพาะด้านการบริหารงาน โดยวางหลักเกณฑ์การรับคนเข้าทำงานที่ใช้ระบบคุณธรรม ไม่มีระบบฝาก รับคนพิจารณาคนเข้าทำงานโดยใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 2. มีการดำเนินการปลูกฝังคุณธรรมความซื่อตรง โปร่งใส ความเอื้ออาทร ซื่อสัตย์สุจริตให้เกิดขึ้นโดยฝังหยั่งรากลึก เริ่มต้นตั้งแต่เด็กปฐมวัยจนกระทั่ง วัยผู้ใหญ่ทั้งในองค์กรและในชุมชน ส่งเสริมคนดีทำดี ยกย่องเชิดชูคนดี โดยมอบรางวัลให้คนต้นแบบ/คนดีในสาขาต่างๆ เป็นประจำทุกปี จนทำให้เกิดบุคคลคุณธรรม องค์กรคุณธรรม และชุมชนคุณธรรม 3. ผู้บริหารหรือผู้นำชุมชนเป็นต้นแบบหรือตัวอย่างที่ดี โดยใช้หลักสำคัญ ดังนี้ คือ 1)ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล หลักความถูกต้องตามกฎระเบียบ หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า และหลักความสร้างสรรค์ ๒) ยึดหลักตามรอยพ่อ คือ นำหลักเศรษฐกิจพอเพียง พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ พอเพียง พอประมาณ ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักการประหยัด อดออม ปลุกจิตสำนึกการต่อต้านและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
14โรงพยาบาล บางมูลนากโรงพยาบาลบางมูลนาก เลขที่ ๒ หมู่ ๙ ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ๖๖๑๒๐ ผู้ประสานงาน 1.นายแพทย์วิศิษฎ์ อภิสิทธิ์วิทยา โทร. ๐๕๖- ๖๓๑๑๓๑ - ๒ [email protected] 2.คุณปานทิพย์ บุญประเสริฐ โทร ๐๘๒ – ๗๗๔๑๒๒๘ โรงพยาบาลบางมูลนาก ได้ดำเนินนโยบายพัฒนาระบบบริการระดับอำเภอ : DHS ตามกระทรวงสาธารณสุข และดำเนินการอำเภอคุณธรรมสู่การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ตามนโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร มีผลงานเข้ารับโล่รางวัลจากพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดดามาตุ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล คือ การสร้างโรงพยาบาลคุณภาพมีมาตรฐาน บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มีการจัดกิจกรรมสร้างความสุขให้เจ้าหน้าที่ โดยให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางศาสนาและสังคม เช่น การทำบุญ ตักบาตร การปฏิบัติธรรมและสนทนาธรรม ตามเทศกาลต่างๆ การเข้าร่วมงานย้อนรอยพระพุทธเจ้าหลวง งานประจำปีเจ้าพ่อแก้ว การประกวดร้องเพลงในองค์กร ฯ การใช้เทคนิคสุนทรียสนทนา มีการนำ ๘ Happy มาใช้ในองค์กร นับเป็นอีกก้าวที่เป็นความภาคภูมิใจของคนในองค์กร เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานอื่นและคนในชุมชนว่าเป็น “องค์กรที่มีชีวิตชีวา” กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
15โรงพยาบาลโพธาราม๒๙ ถนนขนานทางรถไฟ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ๗๐๑๒๐ โทร. ๐๓๒-๓๕๕ ๓๐๐-๙ phh๗๐๐๒@health.moph.go.th www.photharam.com โรงพยาบาลโพธาราม มีกิจกรรมหลักคือแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงภายในศูนย์ธรรมชาติบำบัดวิถีธรรม เป็นการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตน ที่นำเอาจุดดีของวิทยาศาสตร์สุขภาพ แผนปัจจุบัน แผนไทย แผนทางเลือก และแผนพื้นบ้าน รวมถึงหลัก ๘ อ. เพื่อสุขภาพที่ดีของสถาบันบุญนิยม มาบริหารจัดการ องค์ความรู้ ประยุกต์ ผสมผสาน บูรณาการด้วยพุทธธรรม ลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เหมาะสมและสามารถแก้ไขหรือลดปัญหาสุขภาพที่ต้นเหตุ ณ สภาพสังคม สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน นำไปสู่การปฏิบัติที่ ประหยัด ปลอดภัย เรียบง่าย และได้ผลเร็ว แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ พึ่งตนเองได้ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก และมีความยั่งยืนมุ่งปลูกฝังให้ประชาชนได้มาสัมผัสแหล่งเรียนรู้อย่างอิสระ สดชื่น ปลอดโปร่ง ปราศจากแรงกดดันทางกายใจ สุขภาพที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม ปลอดภัย สามารถสร้างคนที่มีจิตใจคุณธรรมและจริยธรรมออกสู่สังคมรอบกว้าง เป็นผู้ถ่ายทอดสิ่งดีๆ เพื่อสังคมต่อไปแบบยั่งยืนได้ และได้ดำเนินกิจกรรมชมรมอาสาอุ้มรักษ์ โดยคณะเจ้าหน้าที่ได้ออกให้บริการในวันหยุดราชการเพื่อตรวจรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู กิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ชุมชน รวมทั้งออกช่วยเหลือเหตุการณ์ภัยพิบัติทั่วประเทศไทย เช่น จังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ เป็นต้น อีกทั้งยังออกช่วยเหลือในพื้นที่ งานสำคัญๆ ต่าง ๆ ภายในภายนอกพื้นที่ โดยปฏิบัติการนอกเวลาราชการและวันหยุดราชการ กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
16บริษัท กระจกไทย อาซาฮี จำกัด มหาชน๒๐๐ หมู่ ๑ ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัด สมุทรปราการ ๑๐๒๙๐ โทร. ๐๒ - ๘๑๕๕๐๐๐ บริษัท กระจกไทยอาซาฮี จำกัด มหาชน เล็งเห็นว่าคุณธรรมเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นหนึ่งในค่านิยมร่วมของกลุ่มบริษัท AGC (Integrity) มีวิสัยทัศน์คือ “มองให้ไกล (Look Beyond)” AGC มุ่งสู่การเป็นบริษัทที่ได้รับการไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ด้วยการเติบโตและพัฒนาอย่างมีความรับผิดชอบในแบบอย่างของธุรกิจระดับโลกที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดสังคมที่ดีกว่า โดยใช้หลักการที่คำนึงถึงความมีคุณธรรมทั้งการดำเนินการ ภายในและภายนอกองค์กร โดยการปฏิบัติอย่างซื่อตรงและจริงใจ บริษัทมีการดำเนินโครงการ AGC พัฒนาบ้านเกิด โดยมุ่งเน้นการเปิดโอกาสสานฝัน สานอาชีพเพื่อการพัฒนาบ้านเกิดให้กับเด็กๆ ผ่านงานศิลปะ นวดแผนไทย สมุนไพร มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ถึงปัจจุบัน และในช่วงกลางปี ๒๕๕๘ ได้เริ่มกิจกรรม ค่ายดนตรี AGC เพื่อพัฒนาทักษะด้านดนตรีให้แก่เด็กๆ โดยมีครูและนักดนตรีมืออาชีพ จัดให้มีการประกวดและแสดงดนตรีของเด็กๆ ในโอกาสต่างๆ โดยทุกการดำเนินกิจกรรมใช้การสร้างกำลังใจและความสุขควบคู่ไปกับการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องจนถึงการสร้างอาชีพ และสามารถถ่ายทอดให้แก่เด็กรุ่นต่อๆ ไปได้ และมีการดำเนินกิจกรรม ทูตความดี AGC ให้คนเกิดจิตอาสา มีส่วนร่วมโครงการได้มากขึ้น และเห็นประโยชน์ในการทำเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนไปในทางเดียวกัน และสามารถต่อยอดได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
17บริษัท ริกิ การ์เม้นส์ จำกัด ๑๕๕/๓๐ หมู่ ๔ นิคมอุตสาหกรรมราชบุรี ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม ราชบุรี ๗๐๑๒๐ ผู้ประสานงาน นายจรูญ ศิริสรณ์ โทร ๐๘๑ - ๙๔๔๙๓๐๓ [email protected] บริษัท ริกิ การ์เม้นส์ จำกัด เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ดำเนินธุรกิจสิ่งทอ โดยผลิตชุดชั้นในชาย/หญิง ชุดออกกำลังกาย เสื้อยืด ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก มีพนักงานเกือบ ๖๐๐ คน และ ๑ ใน ๓ เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน แม้ภายในบริษัทจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ แต่ริกิ การ์เม้นส์ ก็มีวัฒนธรรมเดียวในการบริหารองค์กรคือ ใช้ “ความสุข บนฐานแห่งความดี” เป็นตัวขับเคลื่อน โดยมุ่งเน้นให้พนักงานมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ และมีการกำหนดนโยบายอย่างชัดเจนในการเป็นองค์กรส่งเสริมคุณธรรม โดยการประกาศสโลแกนองค์กร คือ วินัย คือ ปัจจัยสร้างคุณภาพคน บริษัทนำกระบวนการสร้างสุขในองค์กรมาเป็นเครื่องมือสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับพนักงาน โดยจัดตั้ง “คณะกรรมการสร้างสุข” (Happy Team) ทำงานขับเคลื่อนความสุขให้เกิดขึ้นในบริษัทผ่านกิจกรรมต่าง ๆ พัฒนาเครื่องมือ Happy Moral Index (HMI) เพื่อประเมินความสุข จากการทำความดีของพนักงานก่อนเริ่มกิจกรรม ริกิ การ์เม้นส์ ให้ความสำคัญกับการประเมินกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะทำให้บริษัทได้ทราบความต้องการของพนักงานหลังจากที่มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปแล้ว นอกจากนั้นบริษัทยังพัฒนากิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงานบูรณาการเข้ากับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น กิจกรรมหน้ากากยิ้ม ที่นำอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละอองในการทำงานมาสร้างรอยยิ้มให้กับพนักงาน ตลาดนัดให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนสิ่งของ กิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข รณรงค์ให้พนักงานลดเหล้าและบุหรี่ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านภาษาและวัฒนธรรมระหว่างพนักงานที่เป็นคนไทยและแรงงานข้ามชาติกระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
18ชุมชนบ้านแม่กำปอง78/1 หมู่ 3 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 50130 ผู้ประสานงาน นายธีรเมศร์ ขจรพัฒนภิรมย์ 085 – 675 4598 เป็นชุมชนที่รักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและฐานทรัพยากรตนเองได้อย่างเหนียวแน่น และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่เข้มแข็ง ร่วมกันดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ จนทำให้หมู่บ้านมีความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวจนถึงปัจจุบัน กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
19บ้านบุ่งเข้120 หมู่ 8 ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 26130 ผู้ประสานงาน นายวิชาญ วัฒนวิเชียร โทร 080 – 7921122เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง โดยสมาชิกในชุมชน มีความรัก สามัคคี ร่วมกัน พัฒนาชุมชนตนเอง ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีการจัดทำธรรมนูญความสุขชุมชน โดยการส่งเสริมของมูลนิธิหัวใจอาสา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เป็นหลักปฏิบัติที่เกิดจากความเห็นพ้อง ต้องกันของคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข เช่น เป็นตำบลที่รักษา ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ภาษา ประเพณี และวิถีชีวิตที่ดีงาม เป็นต้น ผลจากความร่วมมือ ร่วมใจของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนนี้ กลายเป็นชุมชนตัวอย่าง ที่มีคุณค่า น่าศึกษาเรียนรู้ จนได้รับรางวัลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ - ปี 2557 ได้รับโล่พระราชทานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - ปี 2558 ได้รับรางวัลเศรษฐกิจพอเพียง 30 ครัวเรือนต้นแบบ จากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย - ปี 2559 ได้รับรางวัลบ้านสวยเมืองสุข ระดับภาค จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
20ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาโรงเรียน ใต้ต้นไทร (โรงเรียนร่มเงาบุญ) บ้านดอนนูด หมู่ 2 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93110 ผู้ประสานงาน คุณถาวร คงศรี โทร 098-0178131 1. เป็นชุมชนที่มีความรัก ความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้ออาทรต่อกัน มีการพึ่งพาตนเอง โดยคนในชุมชนจะร่วมกันจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การสร้างสังคมที่เป็นสุข เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย อาทิ 1) การจัดกิจกรรมคน 3 วัย เพื่อให้กลุ่มผู้สูงวัย กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มเด็ก ได้มาพบปะ พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การจัดกิจกรรมนำเด็กไหว้พระสวดมนต์ทุกวันศุกร์ เชิญปราชญ์ชาวบ้านมาเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนเที่ยงวัน เป็นต้น การกิจกรรมดังกล่าว ก่อให้เกิดเป็นพลังรัก ความเข้าใจ เสริมสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในชุมชน ให้มีความผูกพันและแน่นแฟ้นมากขึ้น 2) การดำเนินโครงการดูแลแหล่งน้ำ ลำคลอง และสิ่งแวดล้อม มีการจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน การทำโครงการพืชสมุนไพรใกล้น้ำเพื่อสุขภาพ โครงการตรวจคุณภาพน้ำคลองท่าแนะ และคลองป่าพะยอม อันเป็นการช่วยสร้างจิตสำนึก และกระตุ้นให้เด็กและเยาวชน พร้อมผู้นำรุ่นใหม่ พัฒนาการเรียนรู้อยู่ ร่วมกัน และขยายผลไปสู่ชุมชนใกล้เคียง 2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาโรงเรียนใต้ต้นไทร คือ การทำงานที่ประสานกันเป็นอย่างดีของคนในชุมชน รวมถึงการมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ นำพาชุมชนไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ จนได้การยอมรับด้วยดีจากสังคม กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)